วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561


ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

     สยุมพร จุ๋ม ศรีมุงคุณ.(2555).  ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ดังนี้                              
แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

     เลิศชาย ปานมุข. (2558). ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ดังนี้                              
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  

     ชุติมา สดเจริญ. (2556). ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ดังนี้   
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองด้วยตนเองของผู้เรียน ผู้เรียนที่มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะได้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรม การสร้างความรู้ในตนเองของผู้เรียน เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา  ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน มีความคงทน ไม่ลืมง่าย และและสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดี ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
   1.  การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง
   2.  การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ      
                    
จากการที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเปิดโอกาสได้รู้จักคิดแล้วนำความคิดนั้นไปสร้างชิ้นงานจากสื่อและเทคโนโลยี ดังนั้นจะได้เห็นความคิดของผู้เรียนเป็นรูปธรรม การที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติสร้างชิ้นงานจากความคิดของตนเองทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ระยะยาวและนำความรู้เดิมมาสร้างเป็นความรู้ใหม่ต่อไป การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
   1.  การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง
   2.  การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ                          
                                                                                    
ที่มา
            ชุติมา สดเจริญ. (2556). https://www.gotoknow.org/posts/547007. [ออนไลน์]. เข้าถึงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561.
  เลิศชาย ปานมุข. (2558). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36. [ออนไลน์]. เข้าถึงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561.
            สยุมพร จุ๋ม ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์]. เข้าถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ศิริเพ็ญ   ทองดี . (2552). ได้กล่าวถึงนวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้ บทบา...